วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร อยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่ของวัดมีขนาดกว้างประมาณ 7 เส้น (280 เมตร) ยาวประมาณ 10 เส้น (400 เมตร) สภาพที่เป็นอยู่เมื่อปี พ.ศ. 2421 จากพระราชนิพนธ์เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา มีว่า " วัดนี้อยู่ ห่างแม่น้ำสามสิบวา เป็นที่ลุ่มน้ำท่วม ต้องทุบถนนและมีสะพานข้าม รอบวิหารพระนอนมีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ชั้นหนึ่ง ตัวพระวิหาร ยาว 1 เส้น 7 วา กว้าง 11 วา เสาข้างในเป็นแปดเหลี่ยม อาการที่พระพุทธไสยาสน์บรรทม ไม่เหมือนอย่างกรุงเก่า หรือกรุงเทพ ฯ พระกรทอดออกไปมากเพราะเขนยหนุนไม่สู้ชันนัก เป็นบรรทมราบ แต่พระบาทซ้อนกันตรงเหมือนอย่างพระนอนทั้งปวง "
หลักฐานที่มีอยู่คือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ เมื่อปีจอ จุลศักราช 1111 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2297 และได้เสด็จไปอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2299 เพื่อสมโภชฉลอง ต่อมาสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จไปทรงนมัสการ เมื่อปี พ.ศ. 2421 ในครั้งนั้น พระวิหารและพระนอนชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์มานาน พระธรรมไตรโลก (อ้น) วัดสุทัศน์ ได้ทูลขอพระราชทานเงินค่านาสำหรับวัดเพื่อทำการปฏิสังขรณ์ พระองค์ก็ได้มอบถวายให้ และโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์เป็นที่ปรึกษา การปฏิสังขรณ์ทำเสร็จในปี พ.ศ. 2428 การปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดทำเมื่อปี พ.ศ. 2510
JiGzY
วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553
TriP ของ JiGzY เที่ยววัพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จังหวัดสิงห์บุรี
เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองเก่า มีป้อมปราการวัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญคือ พระนอนจักรสีห์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่นๆ ของไทยทำเป็นแบบพระนอนอินเดีย กรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้าไม่ทำงอ พระกรตั้งขึ้น รับพระเศียรแบบพระนอนไทย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของเมืองไทยอีกองค์หนึ่งคะ
ทริปนี้หมูหิน.คอม พามาสักการบูชาพระสำคัญเมืองสิงห์กันถึงสองที่สองแบบครับ เราเริ่มด้วย นมัสการพระนอนที่ มีความเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดของเมืองไทย พระนอนจักรสีห์มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง โดยมีความเชื่อกันมานานแล้วว่า ถ้าใครที่ได้เช้ามากราบไหว้แล้ว ชีวิตจะมีแต่ความสุข ร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียน มีผู้คนจำนวนมากจากทั่วสารทิศที่หลั่งไหลกันเข้ามากราบไหว้พระนอนองค์นี้กันอย่างคึกคักในทุก ๆวัน
ทริปนี้หมูหิน.คอม พามาสักการบูชาพระสำคัญเมืองสิงห์กันถึงสองที่สองแบบครับ เราเริ่มด้วย นมัสการพระนอนที่ มีความเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดของเมืองไทย พระนอนจักรสีห์มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง โดยมีความเชื่อกันมานานแล้วว่า ถ้าใครที่ได้เช้ามากราบไหว้แล้ว ชีวิตจะมีแต่ความสุข ร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียน มีผู้คนจำนวนมากจากทั่วสารทิศที่หลั่งไหลกันเข้ามากราบไหว้พระนอนองค์นี้กันอย่างคึกคักในทุก ๆวัน
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
Friday, 25 September 2009 09:05
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า
"สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์
บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"
มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=
Friday, 25 September 2009 09:05
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า
"สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์
บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"
มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประว้ติพระเครื่อง
พระเครื่อง ความเชื่อ และศรัทธา
ความเชื่อและศรัทธา เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ฉะนั้นจึงปรากฎว่า มีรูปลักษณ์เครื่องรางต่าง ๆ อยู่คู่กับมนุษย์มา ทุกยุคทุกสมัย เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องบำรุงขวัญ และกำลังใจ บางครั้งคนที่อยู่ในที่คับขัน อยู่ในระหว่างอันตราย เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนศรัทธา และยึดมั่น เป็นที่พึง ก็ทำให้มีสติมีความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้ฝ่าฟัน ให้พ้นอุปสรรค และอันตราย และด้วยกำลังใจที่เกิดขึ้น ทำให้บรรลุถึงความสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในสมัยใด จึงชอบที่จะมีเครื่องรางไว้สำหรับตัว
ครั้นเมื่อมนุษย์มีศาสนาเป็นเครื่องนำทางชีวิต ความเชื่อและศรัทธา ที่มีอยู่แต่เดิม ก็พัฒนาเป็นสัญลักษณ์ มีรูปแบบที่เป็นศิลปะมากขึ้น กล่าวเฉพาะ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนิยม ไปบูชายังสถานที่ พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ได้พากันไปปีละมาก ๆ บรรดาพุทธศาสนิกชน ที่ไปยังสังเวชนียสถานดังกล่าว ก็ชอบหาสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุ นำกลับไปบูชา ที่บ้านเมืองของตน พวกชาวเมือง ที่อยู่ในเจดียสถานนั้น ๆ จึงได้คิดทำพระพิมพ์ขึ้น สำหรับจำหน่าย ในราคาที่ไม่แพง ปรากฎว่า มีผู้นิยมยินดีซื้อหากันทั่วไป การสร้างพระพิมพ์ จึงได้มีแพร่หลายมากขึ้น
ส่วนการสร้างพระพิมพ์ ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมไม่มีความประสงค์ จะสร้างเพื่อจำหน่าย เหมือนดังกล่าวข้างต้น พุทธศาสนิกชนคนไทย สร้างพระพิมพ์ขึ้น เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ให้ถาวร จึงสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก ฝังไว้ในพระเจดีย์ โดยถือว่า เมื่อพระเจดีย์ล้มสลาย หายสูญไปแล้ว ภายหลังมีใครไปขุดพบพระพิมพ์ ที่สร้างไว้ ก็จะได้รู้ว่า พระพุทธศาสนา เคยประดิษฐานในที่นั้น เป็นเหตุให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณสืบต่อไป
ภายหลังผู้ที่สร้างพระพิมพ์ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตบะมีพลังจิต ได้คิดสรรหาวัตถุ ที่เป็นมงคล มาทำพระพิมพ์ และอธิษฐานจิต แผ่พลังให้สถิตอยู่ในพระพิมพ์นั้น ๆ ครั้นเมื่อมีเหตุร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดศึกสงคราม คนทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ก็หาพระพิมพ์ขนาดเล็ก ติดต้วไว้ ทำให้เกิดขวัญกำลังใจ จึงเกิดศรัทธา เชื่อถือเป็นพระเครื่อง สำหรับคุ้มครองให้พ้นจากภยันตรายต่อมา แม้ไม่ได้มุ่งหวัง ในเรื่องคงกะพันชาตรี แต่พระเครื่องที่สร้างขึ้น เป็นสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า และสร้างจากสิ่งที่เป็นมงคล ผู้ที่เคารพกราบไหว้ และปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธองค์ ก็ย่อมเกิดสิริมงคล แก่ตนเองเช่นเดียวกัน
ความเชื่อและศรัทธา เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ฉะนั้นจึงปรากฎว่า มีรูปลักษณ์เครื่องรางต่าง ๆ อยู่คู่กับมนุษย์มา ทุกยุคทุกสมัย เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องบำรุงขวัญ และกำลังใจ บางครั้งคนที่อยู่ในที่คับขัน อยู่ในระหว่างอันตราย เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนศรัทธา และยึดมั่น เป็นที่พึง ก็ทำให้มีสติมีความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้ฝ่าฟัน ให้พ้นอุปสรรค และอันตราย และด้วยกำลังใจที่เกิดขึ้น ทำให้บรรลุถึงความสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในสมัยใด จึงชอบที่จะมีเครื่องรางไว้สำหรับตัว
ครั้นเมื่อมนุษย์มีศาสนาเป็นเครื่องนำทางชีวิต ความเชื่อและศรัทธา ที่มีอยู่แต่เดิม ก็พัฒนาเป็นสัญลักษณ์ มีรูปแบบที่เป็นศิลปะมากขึ้น กล่าวเฉพาะ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนิยม ไปบูชายังสถานที่ พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ได้พากันไปปีละมาก ๆ บรรดาพุทธศาสนิกชน ที่ไปยังสังเวชนียสถานดังกล่าว ก็ชอบหาสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุ นำกลับไปบูชา ที่บ้านเมืองของตน พวกชาวเมือง ที่อยู่ในเจดียสถานนั้น ๆ จึงได้คิดทำพระพิมพ์ขึ้น สำหรับจำหน่าย ในราคาที่ไม่แพง ปรากฎว่า มีผู้นิยมยินดีซื้อหากันทั่วไป การสร้างพระพิมพ์ จึงได้มีแพร่หลายมากขึ้น
ส่วนการสร้างพระพิมพ์ ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมไม่มีความประสงค์ จะสร้างเพื่อจำหน่าย เหมือนดังกล่าวข้างต้น พุทธศาสนิกชนคนไทย สร้างพระพิมพ์ขึ้น เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ให้ถาวร จึงสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก ฝังไว้ในพระเจดีย์ โดยถือว่า เมื่อพระเจดีย์ล้มสลาย หายสูญไปแล้ว ภายหลังมีใครไปขุดพบพระพิมพ์ ที่สร้างไว้ ก็จะได้รู้ว่า พระพุทธศาสนา เคยประดิษฐานในที่นั้น เป็นเหตุให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณสืบต่อไป
ภายหลังผู้ที่สร้างพระพิมพ์ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตบะมีพลังจิต ได้คิดสรรหาวัตถุ ที่เป็นมงคล มาทำพระพิมพ์ และอธิษฐานจิต แผ่พลังให้สถิตอยู่ในพระพิมพ์นั้น ๆ ครั้นเมื่อมีเหตุร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดศึกสงคราม คนทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ก็หาพระพิมพ์ขนาดเล็ก ติดต้วไว้ ทำให้เกิดขวัญกำลังใจ จึงเกิดศรัทธา เชื่อถือเป็นพระเครื่อง สำหรับคุ้มครองให้พ้นจากภยันตรายต่อมา แม้ไม่ได้มุ่งหวัง ในเรื่องคงกะพันชาตรี แต่พระเครื่องที่สร้างขึ้น เป็นสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า และสร้างจากสิ่งที่เป็นมงคล ผู้ที่เคารพกราบไหว้ และปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธองค์ ก็ย่อมเกิดสิริมงคล แก่ตนเองเช่นเดียวกัน
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)